7 Layers of OSI

15:47:00 Thong Dee 0 Comments







 Physical layer   (layer 1)
ชั้นกายภาพเป็นชั้นระดับล่างสุดที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ทำหน้าที่ในการกำหนดวิธีควบคุมการรับและการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับบิต ได้แก่ การส่งบิต 0 จะแทนด้วยกระแสไฟฟ้ากี่โวลต์ และบิต 1 จะต้องใช้กี่โวลต์,แต่ละบิตจะใช้ระยะเวลาในการส่งนานเท่าใด การส่งเป็นแบบทางเดียวหรือสองทาง, จะเริ่มติดต่ออย่างไร, การติดต่อจะสิ้นสุดอย่างไร, และสายเคเบิลที่ใช้มีกี่เส้น แต่ละเส้นใช้เพื่ออะไร เป็นต้น

Data Link layer   (layer 2)
ชั้นสื่อสารเชื่อมต่อข้อมูลหน้าที่หลักของชั้นเชื่อมต่อข้อมูลคือ ทำการรวบรวมข้อมูลจากชั้นกายภาพตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติผู้ส่งข้อมูลจะแบ่งข้อมูลที่มีความยาวมากออกเป็นกลุ่มข้อมูลย่อยๆแต่ละส่วนย่อยเรียกว่า ดาต้าเฟรม (data frame) ชุดของดาต้าเฟรมสำหรับข้อมูลที่ต้องการส่งไปให้ผู้รับก็จะถูกส่งไปทีละเฟรมตั้งแต่เฟรมแรกไปจนครบทุกเฟรม ไปถึงผู้ส่งเพื่อเป็นการบอกให้ทราบว่าได้รับข้อมูลครบแล้ว กระบวนการรับ-ส่งข้อมูลนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์

Network   layer   (layer 3)
มีหน้าที่รับผิดชอบใน การควบคุมการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์(เรียกว่าโหนด)ต่างๆ ในระบบเครือข่ายให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดหาเส้นทางเดินของข้อมูลจากโหนดผู้ส่งไปตามโหนดต่างๆ จนถึงโหนดผู้รับข้อมูลในที่สุดโฮสต์บางกลุ่มจะกำหนดเส้นทางเดินข้อมูลโดยศึกษาระบบเครือข่ายแล้วสร้างตารางเส้นทางเดินข้อมูลแบบถาวร


Transport   layer   (layer 4)
 โปรแกรมในชั้นนำส่งข้อมูลมีหน้าที่หลักในการรับข้อมูลจากชั้นควบคุมหน้าต่างสื่อสาร(session layer) ซึ่งอาจต้องแบ่งข้อมูลออกเป็นแพกเก็ตขนาดย่อม(ในกรณีข้อมูลมีปริมาณมากๆ) หลายๆแพกเก็ต แล้วจึงส่งข้อมูลทั้งชุดต่อไปให้โปรแกรมในชั้นควบคุมเครือข่าย   โปรแกรมในชั้นนี้เป็นผู้กำหนดประเภทของการให้บริการต่างๆ รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการใช้ระบบเครือข่ายซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1.   เป็นการให้บริการแบบจุด-ต่อ-จุดโดยเน้นการรับประกันความถูกต้องของข้อมูลเป็นสำคัญ
  2.   เน้นการให้บริการข้อมูล ข้อมูลในระดับแพกเก็ตซึ่งแม้ว่าจะไม่รับประกันการสูญหายของข้อมูลแต่ก็ให้ความคล่องตัวสูงกว่าแบบแรก
  3.   เป็นการส่งข้อมูลแบบกระจายข่าวเพื่อประโยชน์ในการส่งข้อมูลชุดเดียวกันไปยังผู้ใช้หลายจุดพร้อมกัน 

Session  layer  (layer 5)
เป็นผู้กำหนดวิธีการควบคุมการเชื่อมต่อระหว่างผู้รับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นการสื่อสารไปจนยุติการสื่อสาร เช่น การติดต่อขอใช้โฮสต์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไป (remote login)  
     หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือบริหารการแลกเปลี่ยนข่าวสาร อันได้แก่การกำหนดให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปแบบสองทางในเวลาเดียวกัน

Presentation  layer  (layer 6)
โปรแกรมที่ทำงานในระดับชั้นควบคุมต้นๆที่กล่าวมานั้น จะให้ความสนใจในประสิทธิภาพของการรับ-ส่งข้อมูลและมองเห็นว่าข้อมูลคือกระแสบิต หรือกระแสไบต์ เท่านั้น  แต่โปรแกรมในชั้นนี้จะมองข้อมูลว่าเป็นสิ่งที่มีรูปแบบ(syntax) และความหมาย(semantics)มากกว่ากระแสของบิตหรือไบต์

Application  layer  (layer 7)
บทบาทที่สำคัญคือ
                               1.การเป็นตัวกลางหรือส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับโปรแกรมใน 6 ชั้นที่เหลือ    
                               2.การกำหนดมาตรฐานของจอ
การกำหนดมาตรฐานของจอนั้นไม่ได้เป็นการกำหนดวิธีสร้างจอเทอร์มินัลให้เหมือนกัน ทั้งนี้เพื่อให้ทำให้จอเทอร์มินัลทุกชนิดในโลกมีความเข้าใจตรงกัน







0 ความคิดเห็น:

Porter’s competitive forces model

13:08:00 Thong Dee 0 Comments

Porter’s competitive forces model

สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาในการวางแผนกลยุทธ์ของบริษัท การวางแผนกลยุทธ์จะไม่ประสบความสำเร็จ หากปราศจากการวิเคราะห์ สภาวะแวดล้อม ความรุนแรงของการแข่งขัน และอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง 5 จะช่วยให้เข้าใจถึงโครงสร้าง แนวโน้มหลัก และแรงกระทำต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามในอุตสาหกรรม และทราบว่าอุตสาหกรรมกำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง 

       แรงกระทบทั้ง 5 ที่กล่าวถึงคือ 


1. อำนาจต่อรองจากผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ 

    - จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง มีอิทธิพลเหนือผู้ซื้อทั้งในด้าน ราคา คุณภาพและเงื่อนไขการซื้อขายอื่นๆ
    - ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้อำนาจการต่อรองก็จะสูง
    - จำนวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
    - ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง


2. อำนาจต่อรองจากผู้ซื้อสินค้า 

    - ปริมาณการซื้อ ถ้าผู้ซื้อทำการสั่งซื้อในปริมาณที่มาก ย่อมมีอำนาจการต่อรองสูง
    - ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก ก็ต่อรองได้มาก
    - ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
    - ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมตัวกันง่ายก็มีอำนาจต่อรองสูง
    - ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปด้านหลัง (Backward Integretion) คือ ถ้าลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง อำนาจการต่อรองก็จะสูง
    - ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่น (Switching Costs) หรือ ใช้สินค้าของคู่แข่งแล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนสูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ






 3. ข้อจำกัดการเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายใหม่ 
    - เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่ และหากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงก็อาจทำ ให้ผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันรายใหม่ไม่กล้าตัดสินใจเข้ามาลงทุน เพราะต้องเสี่ยงต่อการดำเนินงานที่ไม่คุ้มทุนหรือขาดทุน
    - การประหยัดเนื่องจากขนาด (Economics of Scale) เนื่องจากผู้ที่เข้ามาทำธุรกิจใหม่ต้องพบแรงกดดัน ในเรื่องของการประหยัดต้นทุนการผลิต ในปริมาณที่มากเพื่อสามารถแข่งขันกับคู่แข่งรายเดิมที่มีความได้เปรียบทุกด้าน
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าอื่น (Switching cost) การนำเสนอสินค้าให้กับลูกค้าโดยที่ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมที่มีอยู่ เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการที่จะหันไปใช้สินค้าอื่นที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ต้องการเสียเงินเพื่อการปรับเปลื่ยนกระบวนการบางอย่างอันเนื่องมาจากสินค้าที่ผลิตใหม่มีลักษณะการใช้งานไม่เหมือนกัน ทำให้ลูกค้าไม่สนใจที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้สินค้าตัวใหม่ทำให้ธุรกิจรายใหม่อาจจะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเดิมในการชักจูงให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของตนเอง
    - การเข้าถึงช่องทางการจำหน่าย (Access to Distribution Channels) คู่แข่งรายใหม่จะต้องใช้ความ พยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงช่องทางการจัดจำหน่ายโดยชักจูงหรือให้ข้อเสนอที่ดีกว่าเพื่อให้พ่อค้าส่ง
    - นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน เช่นในไทยตัวอย่างที่ชัดเจนคือ สัมปทานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่และทีวีดิจิตอล เป็นต้น
    - ความเสียเปรียบด้านต้นทุน (Cost Disadvantages) ในการดำเนินงาน ธุรกิจใหม่อาจมีต้นทุนการดำเนินงานที่สูง เช่นการลงทุนด้านการวิจัยหรือความรู้ต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ทางด้านการทำงานและการดำเนินงานสายงานธุรกิจนั้นๆ ซึ่งมีปัจจัยนี้มากก็จะยิ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบการรายเดิม





4. แรงผลักดันจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้
    - ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับอากาศกับพัดลม
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
    - ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน 


5. การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน 

    - จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม หากมีจำนวนมากหรือมีขีดความสามารถที่พอๆกันย่อมส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง แต่อาจมีบางกรณีที่แม้จะมีจำนวนผู้ประกอบการน้อยราย และแต่ละรายมีสัดส่วนการครองตลาดใกล้เคียงกันก็อาจส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงได้เช่นกัน 
    - กำลังการผลิตส่วนเกิน หากอุตสาหกรรมใดมีการใช้ต้นทุนคงที่สูงจะมีความจำเป็นต้องคงขนาดของการใช้อัตรากำลังการผลิตไว้สูงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยคุ้มค่าที่จะเดินสายพานการผลิต เมื่อความต้องการ (Demand) ลดแต่ผู้ประกอบการไม่สามารถลดระดับการผลิตลงมาได้อาจทำให้เกินภาวะ Over Supply 
    - อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขันจะไม่รุนแรงมากนัก ยิ่งอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราที่สูงก็ยิ่งสามารถดูดซับ เอาการแข่งขันที่รุนแรงไปได้เท่านั้น 
    - ความผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty) ความแตกต่างของสินค้าและบริการ ยิ่งสินค้าที่มีความแตกต่างกันมาก การแข่งขันจะน้อยลง ทำให้เกิดตวามผู้กันในตรายี่ห้อนั้นๆ


โดยปกติถ้าแรงกระทบทั้ง 5 มีค่าต่ำ แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าสนใจลงทุน ในทางกลับกัน ถ้าแรงทั้ง 5 มีค่าสูง แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นมีการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงสูงไม่น่าลงทุน

Cr.http://nanosoft.co.th/maktip88.htm

0 ความคิดเห็น:

Spiral Model

12:55:00 Thong Dee 0 Comments

Spiral Model
 


                   Spiral Model เป็นโมเดลที่ถูกพัฒนาขึ้นจาก Waterfall Model ที่มีการทำงานเป็นขั้นตอนหากในขั้นตอนแรกวิเคราะห์ความต้องการไม่ดี ไม่ชัดเจน ความเสี่ยงที่ระบบจะถูกพัฒนาไม่ตรงตามความต้องการของลูกสูงและทำให้โครงการล้มเหลวครับ กระบวนการนี้จึงนำเอาข้อดีของ Prototype มาผสมผสานให้เกิดคามชัดเจนและมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงในทุกชั้น ทำให้โอกาสที่ระบบจะล้มเหลวมีน้อยลงครับ

              จากรูปนะครับ Spiral model จะมีลักษณะแบบก้นหอยเป็นวงๆชั้นๆซ้อนกันอยู่แสดงให้เห็นถึงลักษณะการทำซ้ำ ในแต่ละช้นก็จะมีการวิเคราะห์ความเสี่ยงและการสร้างตัวต้นแบบ (Prototype) ทำให้ช่วยลดอัตราความเสี่ยงที่จะทำให้โครงการพัฒนาระบบล้มเหลว และ ทำให้เห็นความคืบหน้าของงานครับ

ชั้นรัศมีที่เพิ่มขึ้นหมายถึงอะไร ??
             หมายถึงค่าใช้จ่ายในการพัฒนาที่เพิ่มขึ้น ยิ่งวงชั้นมากขึ้นเท่าไรค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการพัฒนาระบบนั้นๆก็ยิ่งเพิ่มขึ้นครับ (ค่าใช้จ่ายบานปลายขึ้นเรื่อยๆ )

สรุปข้อดีของ Spiral Model ได้ดังนี้

1. ในแต่ละ Cycle มีขั้นตอนประมวลผลที่สิ้นสุดภายใน Cycle เดียว
2. การวางแผนเพื่อกำหนดทางเดินของ Software Process ในรอบต่อไป
3. เนื่องจากการพัฒนาอยู่บนพื้นฐานของวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทำให้ระบบนี้สรา้งอยู่บนพื้นฐาน requirement ของลูกค้า
4. สามารถแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะมีการวเคราะห์ความเสี่ยงและเห็นความคืบหน้าของงานชัดเจน
5. มีความเป็นอิสระต่อกันทางด้านการพัฒนาและการแก้ไขจึงสามารถแบ่งส่วนการพัฒนาเป็น Module ได้

ข้อเสียของ Spiral Model 
 เนื่องจาก Spiral Model ทุก Cycle ของการพัฒนามีการวิเคราะห์และตีค่า ถ้าการวิเคราะห์เกิดผิดพลาด จะทำให้ Software Produce ที่ออกมาผิดพลาดทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น

0 ความคิดเห็น:

ERP & SAP

12:48:00 Thong Dee 0 Comments



แนวคิด ERP
แนวคิด ERP เริ่มในยุคปี ค.ศ. 1990 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จุดกำเนิดเริ่มแรกของ ERP มาจากแนวคิดของการพัฒนาระบบการบริหารการผลิตรวม (Material Requirement Resource Planning / Manufacturing Resource Planning, MRP System) ของอุตสาหกรรมการผลิตในอเมริกา โดยคำว่า ERP และแนวคิดของ ERP นั้นก็พัฒนามาจาก MRP นั่นเอง 

               ในที่นี้จะทำการอธิบาย ความเป็นมาของ MRP โดยย่อว่ามีความเป็นมาอย่างไร และทำไมจึงพัฒนามาเป็น ERP ได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเข้าใจความหมายของ ERP ได้ดียิ่งขึ้นและตัวแนวคิด ERP เองก็ยังมีวิวัฒนาการอยู่ จาก ERP ก็จะเป็น Extended ERP และจะพัฒนาไปเป็น Next Generation ERP ต่อไปในอนาคต

ERP คืออะไร
ห่วงโซ่ของกิจกรรมขององค์กร                                                                                           องค์กรธุรกิจประกอบกิจกรรมธุรกิจในการส่งมอบสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า กิจกรรมดังกล่าวเป็นกิจกรรม “สร้างมูลค่า” ของทรัพยากรธุรกิจให้เกิดเป็นสินค้าหรือบริการและส่งมอบ “มูลค่า” นั้นให้แก่ลูกค้า โดยกระบวนการสร้างมูลค่าจะแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยแต่ละส่วนจะรับผิดชอบงานในส่วนของตน และมูลค่าสุดท้ายจะเกิดจากการประสานงานระหว่างแต่ละส่วนหรือแผนกย่อยๆ ดังนั้นกิจกรรมที่สร้างมูลค่านั้น ประกอบด้วยการเชื่อมโยงของกิจกรรมของแผนกต่างๆ ในองค์กร การเชื่อมโยงของบริษัทเพื่อให้เกิดมูลค่านี้ เรียกว่า “ห่วงโซ่ของมูลค่า (value chain)”






รูปที่ ห่วงโซ่ของกิจกรรมที่สร้างมูลค่าให้กับลูกค้า

จากรูปแบ่งกิจกรรมออกเป็นส่วนสำคัญ ส่วนคือ การจัดซื้อ การผลิต การขาย

ปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารธุรกิจ 
           ธุรกิจที่มีขนาดใหญ่ การเชื่อมโยงของกิจกรรมการเพิ่มมูลค่าของแต่ละแผนก มักจะมีปัญหาเรื่องการสูญเปล่าและการขาดประสิทธิภาพ อีกทั้งการใช้เวลาระหว่างกิจกรรมที่ยาวเกินไป ทำให้ผลผลิตต่ำลง เกิดความยากลำบากในการรับรู้สถานภาพการทำงานของแผนกต่างๆ ได้ ทำให้การตัดสินใจในการลงทุนและบริหารทรัพยากรต่างๆ ทำได้ยากขึ้น การบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรไม่สามารถทำได้









 รูปที่ ปัญหาเชิงบริหารที่เกิดขึ้น

ปัญหาเชิงบริหาร ที่เกิดขึ้นได้แก่
1.       การขยายขอบเขตการเชื่อมโยงของกิจกรรม เมื่อบริษัทเติบโตใหญ่ขึ้น กิจกรรมการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าจะเพิ่มขึ้น การเชื่อมโยงของกิจกรรมจะยาวขึ้น
2.       โครงสร้างการเชื่อมโยงของกิจกรรมซับซ้อนขึ้น เมื่อบริษัทโตขึ้น การแบ่งงานของกิจกรรมสร้างมูลค่าให้กับแผนกต่างๆ และการเชื่อมโยงของ กิจกรรมจะซับซ้อนขึ้น
3.       เกิดการสูญเปล่าในกิจกรรมและความรวดเร็วในการทำงานลดลง เมื่อการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ขยายใหญ่และซับซ้อนขึ้น จะเกิดกำแพงระหว่างแผนก เกิดการสูญเปล่าของกิจกรรม ความสัมพันธ์ในแนวนอนระหว่างกิจกรรมจะช้าลง ทำให้ประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงกิจกรรมทั้งหมดต่ำลง
4.       การรับรู้สภาพการเชื่อมโยงของกิจกรรมทำได้ยากเมื่อการเชื่อมโยงของกิจกรรมต่างๆ ขยายขอบเขตใหญ่ขึ้น ความซับซ้อนในการเชื่อมโยงกิจกรรมมากขึ้น การรับรู้สภาพหรือผลของกิจกรรมในแผนกต่างๆ ทำได้ยากขึ้น ไม่สามารถส่ง ข้อมูลให้ผู้บริหารรับรู้ได้ทันที
5.       การลงทุนและบริหารทรัพยากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทำได้ยาก ทำให้ผู้บริหารไม่สามารถตัดสินใจอย่างรวดเร็ว และทันเวลาในการลงทุน และบริหารทรัพยากรขององค์กรเพื่อให้ลูกค้าเกิดความพอใจสูงสุดในสินค้าและบริการ
เมื่อเกิดปัญหาต่างๆ การนำ ERP มาใช้ในการบริหารธุรกิจจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านั้นได้


 ERP package คืออะไร
ERP package เป็น application software package ซึ่งผลิตและจำหน่ายโดยบริษัทผู้จำหน่าย ERP package (Vendor หรือ Software Vendor) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างและบริหารงานระบบ ERP โดยจะใช้ ERP package ในการสร้างระบบงานการจัดซื้อจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชี และการบริหารบุคคล ซึ่งเป็นระบบงานหลักขององค์กรขึ้นเป็นระบบสารสนเทศรวมขององค์กร โดยรวมระบบงานทุกอย่างไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน
จุดเด่นของ ERP package 
              1. เป็น Application Software ที่รวมระบบงานหลักอันเป็นพื้นฐานของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร 
ERP package จะต่างจาก software package ที่ใช้ในงานแต่ละส่วนในองค์กร เช่น production control software, accounting software ฯลฯ แต่ละ software ดังกล่าวจะเป็น application software เฉพาะสำหรับแต่ละระบบงานและใช้งานแยกกัน ขณะที่ ERP package นั้นจะรวมระบบงานหลักต่างๆ ขององค์กรเข้าเป็นระบบอยู่ใน package เดียวกัน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างระบบ ERP ขององค์กร


2. สามารถเสนอ business scenario และ business process ซึ่งถูกสร้างเป็น pattern ไว้ได้ 
ERP package ได้รวบรวมเอาความต้องการสำคัญขององค์กรเข้าไว้ เป็นระบบในรูปแบบของ business process มากมาย ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเอารูปแบบต่างๆ ของ business process ที่เตรียมไว้มาผสมผสานให้เกิดเป็น business scenario ที่เหมาะสมกับลักษณะทางธุรกิจขององค์กรของผู้ใช้ได้
              3. สามารถจัดทำและเสนอรูปแบบ business process ที่เป็นมาตรฐานสำหรับองค์กรได้ 
การจัดทำ business process ในรูปแบบต่างๆ นั้นสามารถจัดให้เป็นรูปแบบมาตรฐานของ business process ได้ด้วย ทำให้บางกรณีเราเรียก ERP ว่า standard application software package
สาเหตุที่ต้องนำ ERP package มาใช้ในการสร้างระบบ คือ 

              1. ใช้เวลานานมากในการพัฒนา software 
การที่จะพัฒนา ERP software ขึ้นมาเองนั้น มักต้องใช้เวลานานมากในการพัฒนา และจะต้องพัฒนาทุกระบบงานหลักขององค์กรไปพร้อมๆ กันทั้งหมด จึงจะสามารถรวมระบบงานได้ ตามแนวคิดของ ERP ซึ่งจะกินเวลา 5-10 ปี แต่ในแง่ของการบริหารองค์กร ถ้าต้องการใช้ ระบบ ERP ฝ่ายบริหารไม่สามารถจะรอคอยได้เพราะสภาพแวดล้อมในการบริหารมีการเปลี่ยนแปลงตลอด ระบบที่พัฒนาขึ้นอาจใช้งานไม่ได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่เลือกวิธีการพัฒนา ERP software เองในองค์กร              2. ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาสูงมาก 
การพัฒนา business software ที่รวมระบบงานต่างๆเข้ามาอยู่ใน package เดียวกัน จะมีขอบเขตของงานกว้างใหญ่มากครอบคลุมทุกประเภทงาน ต้องใช้เวลานานมากในการพัฒนาและค่าใช้จ่ายก็สูงมากตามไปด้วย หรือถ้าให้บริษัทที่รับพัฒนา software ประเมินราคาค่าพัฒนา ERP software ให้องค์กร ก็จะได้ในราคาที่สูงมาก ไม่สามารถยอมรับได้อีกเช่นกัน
              3. ค่าดูแลระบบและบำรุงรักษาสูง 
เมื่อพัฒนา business software ขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องดูแลและบำรุงรักษา และถ้ามีการเขียนโปรแกรมเพิ่มหรือแก้ไขโปรแกรม การบำรุงรักษาจะต้องทำอยู่อย่างยาวนานตลอดอายุการใช้งาน เมื่อรวมค่าบำรุงรักษาในระยะยาวต้องใช้เงินสูงมาก อีกทั้งกรณีที่มีการปรับเปลี่ยน Software ไปตาม platform หรือ network ระบบต่างๆ ที่เปลี่ยนไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ก็เป็นงานใหญ่ ถ้าเลือกที่จะดูแลระบบเองก็ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษานี้ พร้อมกับรักษา บุคลากรด้าน IT นี้ไว้ตลอดด้วย
โครงสร้างของ ERP package

รูปที่ โครงสร้างของ ERP package
1. Business Application Software Module 
ประกอบด้วย Module ที่ทำหน้าที่ในงานหลักขององค์กร คือ การบริหารการขาย การบริหารการผลิต การบริหารการจัดซื้อ บัญชี การเงิน บัญชีบริหาร ฯลฯ แต่ละ Module สามารถทำงานอย่างโดดๆ ได้ แต่ก็มีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่าง Module กัน เมื่อกำหนด parameter ให้กับ module จะสามารถทำการเลือกรูปแบบ business process หรือ business rule ให้ตอบสนองเป้าหมายขององค์กรตาม business scenario โดยมี business process ที่ปรับให้เข้ากับแต่ละองค์กรได้

ERP package ที่ต่างกันจะมีเนื้อหา และน้ำหนักการเน้นความสามารถของแต่ละ Module ไม่เหมือนกัน และเหมาะกับการนำไปใช้งานในธุรกิจที่ต่างกัน ในการเลือกจึงต้องพิจารณาจุดนี้ด้วย
          
2. ฐานข้อมูลรวม (Integrated database) 
Business application module จะ share ฐานข้อมูลชนิด Relational database (RDBMS) หรืออาจจะเป็น database เฉพาะของแต่ละ ERP package ก็ได้ Software Module จะประมวลผลทุก transaction แบบเวลาจริง และบันทึกผลลงในฐานข้อมูลรวม โดยฐานข้อมูลรวมนี้สามารถถูก access จากทุก Software Module ได้โดยตรงโดยไม่จำเป็นต้องทำ batch processing หรือ File transfer ระหว่าง Software Module เหมือนในอดีต และทำให้ข้อมูลนั้นมีอยู่ “ที่เดียว” ได้
         3. System Administration Utility 
Utility กำหนดการใช้งานต่างๆ ได้แก่ การลงทะเบียนผู้ใช้งานการกำหนดสิทธิการใช้การรักษาความปลอดภัยข้อมูลการบริหารระบบ LAN และ network ของ terminal, การบริหารจัดการ database เป็นต้น
          4. Development and Customize Utility 
ERP สามารถออกแบบระบบการทำงานใน business process ขององค์กรได้อย่างหลากหลาย ตาม business scenario แต่บางครั้งอาจจะไม่สามารถสร้างรูปแบบอย่างที่ต้องการได้ หรือมีความต้องการที่จะ Customize บางงานให้เข้ากับการทำงานของบริษัท ERP package จึงได้เตรียม Utility ที่จะสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมส่วนนี้ไว้ด้วย โดยจะมีระบบพัฒนาโปรแกรมภาษา 4GL (Fourth Generation Language) ให้มาด้วย

Function ของ ERP package 
ERP package โดยทั่วไปจะจัดเตรียม Software module สำหรับงานหลักของธุรกิจต่าง ๆ ไว้ดังนี้ 

1. ระบบบัญชี
  • บัญชีการเงิน – General, Account Receivable, Account Payable, Credit/Debit, Fixed Asset, Financial, Consolidated Accounts, Payroll, Currency Control(multi-currency)
  • บัญชีบริหาร – Budget Control, Cost Control, Profit Control, Profitability Analysis, ABC Cost Control, Management Analysis, Business Plan
2. ระบบการผลิต
  • ควบคุมการผลิต – Bill of Material, Production Control, MRP, Scheduling, Production Cost Control, Production Operation Control, Quality Control, Equipment Control, Multi-location Production Supporting System
  • ควบคุมสินค้าคงคลัง – Receipt/Shipment Control, Parts Supply Control, Raw Material, Stocktaking
  • การออกแบบ – Technical Information Control, Parts Structure Control, Drawing Control, Design Revision Support System
  • การจัดซื้อ – Outsourcing/Purchasing, Procurement, Acceptance, การคืนสินค้าใบเสนอราคาใบสัญญา
  • ควบคุมโครงการ – Budget, Planning, Project Control
3. ระบบบริหารการขาย – Demand/Sales Forecasting , Purchase Order, Sales Planning/Analysis, Customer Management, Inquiry Management, Quotation Management, Shipment Control, Marketing, Sale Agreement, Sale Support, Invoice/Sales Control4. Logistics – Logistic Requirement Planning , Shipment/Transport Control, Export/Import Control, Warehouse management, Logistics Support5. ระบบการบำรุงรักษา – Equipment Management, Maintenance Control, Maintenance Planning6. ระบบบริหารบุคคล – Personnel Management, Labor Management, Work Record Evaluation, Employment, Training & HRD, Payroll, Welfare Managementคุณสมบัติที่ดีของ ERP package
1.       มีคุณสมบัติ online transaction system เพื่อให้สามารถใช้งานแบบ real time ได้
2.       รวมข้อมูลและ information ต่างๆ เข้ามาที่จุดเดียว และใช้งานร่วมกันโดยใช้ integrated database
3.       มี application software module ที่มีความสามารถสูงสำหรับงานหลักๆ ของธุรกิจได้ อย่างหลากหลาย
4.       มีความสามารถในการใช้งานในหลายประเทศ ข้ามประเทศ จึงสนับสนุนหลายภาษา หลายสกุลตรา
5.       มีความยืดหยุ่น และสามารถปรับเปลี่ยนขยายงานได้ง่าย เมื่อระบบงานหรือโครงสร้างองค์ กรมีการเปลี่ยนแปลง
6.       มีขั้นตอนและวิธีการในการติดตั้งสร้างระบบ ERP ในองค์กรที่พร้อมและชัดเจน
7.       เตรียมสภาพแวดล้อม(ระบบสนับสนุน) สำหรับการพัฒนาฟังก์ชันที่ยังขาดอยู่เพิ่มเติมได้
8.       สามารถใช้กับเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ
9.       ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เป็นมาตรฐานระดับโลก มีความเป็นระบบเปิด (open system)
10.   สามารถ interface หรือเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบงานที่มีอยู่แล้วในบริษัทได้
11.   มีระบบการอบรมบุคลากรในขั้นตอนการติดตั้งระบบ
12.   มีระบบสนับสนุนการดูแลและบำรุงรักษาระบบ
ชนิดของ ERP package 

        
 1. ERP ชนิดที่ใช้กับทุกธุรกิจหรือเฉพาะบางธุรกิจ 
ERP package โดยทั่วไปส่วนมากถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับงานแทบทุกประเภทธุรกิจ แต่งานหลักของธุรกิจซึ่งได้แก่ การผลิต การขาย Logistics ฯลฯ มักจะมีความแตกต่างกันตามประเภทของธุรกิจ ดังนั้นจึงมี ERP package ประเภทที่เจาะจงเฉพาะบางธุรกิจอยู่ในตลาดด้วย เช่น ERP package สำหรับอุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมยา เป็นต้น
          2. ERP สำหรับธุรกิจขนาดใหญ่หรือสำหรับ SMEs 
แต่เดิมนั้น ERP package ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่อย่างแพร่หลาย ต่อมาตลาดเริ่มอิ่มตัว ผู้ผลิตจึงได้เริ่มหันเป้ามาสู่บริษัทขนาดกลางและขนาดย่อมมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง หรือขนาดย่อม ระบบและเนื้อหาของระบบงานหลักต่างๆจะไม่แตกต่างกันมาก เพียงแต่ในธุรกิจขนาดใหญ่จะมีปริมาณของเนื้องานมากขึ้น ปัจจุบันมี ERP package ที่ออกแบบโดยเน้นสำหรับการใช้งานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยเฉพาะ ออกมาจำหน่ายมากขึ้น เช่น

- Oracle Application/Oracle
- People Soft
- SAP
- CONTROL
- IFS Application
- MFG/PRO
- J.D. Edwards
SAP คืออะไร
ก่อนอื่นต้องรู้ concept ของ ERP เสียก่อน 
ระบบ ERP อีอาร์พี คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อองค์กรที่จะนำระบบมาใช้
     ระบบ Enterprise Resource Planning หรือ ERP อีอาร์พี คือระบบจัดการทรัพยากรในองค์กร โดยระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลในการปฏิบัติงานทุกส่วนในองค์กร เหมาะสำหรับองค์กรที่มีขนาดใหญ่และต้องการโปรแกรมควบคุมการจัดการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น ERP อีอาร์พี ยังสามารถเชื่อมโยงกับระบบภายนอกองค์กรได้ เช่น ลูกค้าคู่ค้าตัวแทนจำหน่ายซัพพลายเออร์ฯลฯ เป็นต้น
     หลักการก็คือ การบันทึกของมูลลงเพียงครั้งเดียวแต่คนในบริษัทสามารถเปิดออกมาดูได้จากหลายๆแผนก จะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงาน ส่วนค่าใช้จ่ายของการลงทุนติดตั้งค่อนข้างสูง 
ประโยชน์ที่องค์กรจะได้รับจากการนำระบบ ERP อีอาร์พี ไปใช้มีดังนี้คือ
ERP ช่วยใน การเชื่อมโยงของข้อมูลในการทำงานแต่ละส่วนงาน
ERP ลดความซ้ำซ้อนสำหรับกระบวนการทำงานที่ยังมีความคาบเกี่ยวกัน
ERP สามารถมองเห็นภาพรวมของการทำงานทั้งองค์กรได้เป็นอย่างดี
ERP สามารถนำข้อมูลที่ได้จากระบบมาช่วยในการตัดสินใจได้
     ถ้าจะกล่าวถึง Software ที่ใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรนั้น ทุกคนคงนึกถึง Software ประเภท ERP ซึ่งปัจจุบันก็มีหลายค่ายที่ผลิต Software ชนิดนี้ขึ้นมา เช่น Oracle Applications, Lawson Software, The Sage Group, SAP ฯลฯ ซึ่งในวงการนี้ได้มีการแข่งขันที่สูงมาก
แต่จะนำเสนอ เพียง SAP , Oracle



 รูปที่ 1 SAP สำนักงานใหญ่ ที่เยอรมัน





                SAP ก่อตั้งที่ประเทศเยอรมันนี เมื่อปี 1972 (พ.ศ. 2515) สํานักงานใหญ่อยู่ที่ Walldorf, Germany โดยการรวมตัวกันของอดีตพนักงานบริษัท IBM และเจริญเติบโตจนกลายเป็นบริษัท software ที่ใหญ่เป็นอันดับ5ของโลก มีบริษัทที่มีการใช้ SAP มากกว่า 6,000 บริษัท ใช้มากกว่า 50 ประเทศ ใช้มากกว่า 9,000 site มีส่วนแบ่งในตลาด client/server software กว่า 31% มีผู้ใช้เพิ่ม 50% ต่อปี มียอดขาย SAP R/3 เพิ่มขึ้น 70% ต่อปี
                เป้าหมายธุรกิจในเริ่มแรก เน้นลูกค้าที่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ (Enterprise-scale) แต่ในปัจจุบันได้ขยายธุรกิจไปที่ลูกค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง
ลูกค้าที่สําคัญของ SAP ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกคือ Singtel, Tata Group of Companies, Siam Cement, Telom Asia, PT Astra, San Miguel, Uniliver, FAW-Volkswagen, Sony Computer Entertainment, 7-Eleven Stores, General Motors, Novartis
Modules SAP
                ใน SAP เองมี Modules หลายๆ Modules ที่มีหน้าที่ทำงานแตกต่างกัน แต่สอดประสานกัน ในแต่ละ Modules จะส่งข้อมูลที่เกี่ยวเนื่องกัน ถึงกัน โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลซ้ำซ้อนในแต่ละ Modules และ มีการพัฒนาขึ้นมาในลักษณะของ Based on Best Practice in Industry 

 Module SAP ที่เป็นที่รู้จักกันคือ
SD (Sales and Distribution) เป็นโปรแกรมเกี่ยวกับการบันทึกการขาย และให้บริการ
MM (Materials Management) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสินค้าคงคลัง การสั่งซื้อสินค้า
FI (Financial Accounting) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกตัวเลขทางบัญชี การทำงบประมาณ รายงานทางการเงินต่างๆ
CO (Controlling) เป็นโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับรายงานต่างๆในการดำเนินงาน ข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์
Application Module หลักๆในระบบ SAP



AM Fixed Assets Management หรือโมดูลทางด้านการจัดกาสินทรัพย์ถาวรSD Sale & Distributions หรือโมดูลทางด้านขายและการกระจายสินค้า
MM Material Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการวัตถุดิบ
PP Production Planning หรือโมดูลทางด้านการวางแผนการผลิต
QM Quality Management หรือโมดูลทางด้านการจัดการด้านคุณภาพ

PM Plant Maintenance หรือโมดูลทางด้านการซ่อมบำรุงโรงงาน

HR Human Resource หรือโมดูลทางด้านการจัดการทรัพยากรบุคคล

TR Treasury หรือโมดูลทางด้านการบริหารการเงิน
WF Workflow หรือโมดูลทางด้าน Flow ของกระบวนการทำงาน
IS Industry Solutions คือส่วนระบบงานธุรกิจเฉพาะ โดยที่ไม่ใช่โมดูลมาตร
FI Financial Accounting หรือโมดูลทางด้านบัญชีการเงิน
CO Controlling หรือโมดูลทางด้านบัญชีจัดการหรือบัญชีบริหาร




ความสามารถในการทำงานของ SAP 
                SAP ได้ออกแบบมาให้รองรับการดำเนินงานของธุรกิจ หรือหน่วยงาน ด้วยคุณสมบัติที่หลากหลาย ง่ายต่อการใช้งาน อาทิเช่น
1.การจัดทำเหมืองข้อมูล
2.การจัดทำคลังข้อมูล
3.ระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management: CRM) Integration Business Planning แล้วส่งต่อข้อมูลไปในระบบ ERP ซึ่งสามารถดูผลผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
4.การทำ Strategic Management, Balance Score Card การติดตามและประเมินผล การดำเนินงานตามตัวชี้วัด (KPI) การวิเคราะห์แนวโน้ม การวิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กร
สถาปัตยกรรมของ SAP
                ระบบ SAP ประกอบด้วย หลาย module ของแต่ละส่วนของการจัดการที่เอามารวมกันและทำงานร่วมกัน เนื่องด้วยตลาดและความต้องการของลูกค้าเป็นตัวกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงของระบบ มีบริษัท software ที่พยายามสร้างโปรแกรมที่สนับสนุนแต่ละส่วนของธุรกิจ ในขณะที่ SAP พยายามสร้าง software ที่เหมาะสม กับทุกธุรกิจ SAP โดยให้โอกาสเลือกใช้แค่ระบบเดียวแต่สามารถทำงานได้กับทุกส่วนของธุรกิจ ทั้งยังสามารถติดตั้ง R/3 application มากกว่า ตัวเป็นการเพิ่มความเร็วในการทำงาน
SAP มีหลาย Module มีหน้าที่ที่ต่างกัน แต่ทำงานร่วมกัน เป็นหนึ่งเดียว (แต่ละ Module คือแต่ละส่วนของธุรกิจ) ผลิตภัณฑ์ SAP มี กลุ่ม คือ
1. SAP R/2 ใช้สำหรับเมนเฟรม
2. SAP R/3 ใช้กับระบบ Client/server
                SAP เป็นบริษัทของ German แต่แยกการทำงานเป็น บริษัทย่อยหุ้นส่วนและ พันธมิตรทางธุรกิจทั่วโลก
                ผลิตภัณฑ์ของเอสเอพีเน้นไปที่ ERP ซึ่งบริษัทเป็นผู้บุกเบิก. ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทคือ SAP R/3 โดยตัว "R" หมายถึง "realtime data processing" (การประมวลผลข้อมูลแบบเวลาจริง) ส่วน "3" หมายถึง สถาปัตยกรรมโปรแกรมแบบ ชั้น (three-tier) : ฐานข้อมูลแอปพลิเคชันเซิร์ฟเวอร์ และ ไคลเอนต์ (SAPgui). โดยผลิตภัณฑ์รุ่นก่อนหน้า SAP R/3 คือรุ่น R/2
ตามรายงาน มีการติดตั้งเอสเอพีมากกว่า 91,500 ชุดในมากกว่า 28,000 บริษัท. คนมากกว่า 12 ล้านคนในมากกว่า 120 ประเทศ ใช้ผลิตภัณฑ์ของเอสเอพี
ข้อดีของ SAP
                1. Data flow ที่จะไหลไปได้ทุกหน่วยงาน ไม่ต้องทำซ้ำ เช่น ระบบ HR ใส่ข้อมูลพนักงานใหม่ ข้อมูลจะ Link เข้าหา FI เพื่อดูแลระบบเงินเดือนการเอาเงินเดือนเข้าธนาคาร การหักภาษีเป็นต้น
                2.การควบคุมจากศูนย์รวมที่เดียวกันของทาง IT  ไม่ต้องมีหลายระบบที่คุยกันไม่ได้เช่น ระบบ HR คุยกับระบบ Production เรื่องกำลังคนเพื่อวางแผน capacity planning ไม่ได้ หรือ ระบบ HR คุยกับระบบ FI เรื่องบัญชีเงินเดือนไม่ได้ เป็นต้น
ข้อเสียของ SAP
               1.Software แพง
               2.Hardware ที่นำมาร่วมใช้ แพง
               3.Training แพง
               4.Implement แพง
               5.จ้างคนมาทำSoftwareแพง แต่ไม่เก่งก็มีมาก



ตัวอย่างหน้าจอ SAP Material Management






Cr : https://www.gotoknow.org/posts/378824
















Cr : http://www.baanjomyut.com 

จัดทำโดย

5751000554 นายอวิรุทธิ์   อามีน นศ.ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง คณะวิศวกรรมศาสตร์
สาขาวิชา คอมพิวเตอร์ 

0 ความคิดเห็น: