order fulfillment activities

18:33:00 Thong Dee 0 Comments

order fulfillment activities

ระบบบริหารและจัดการคลังสินค้า (Order Fulfillment) เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับสินค้า โดยเชื่อมโยงการจัดการคลังสินค้า และการจัดส่ง เข้าเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัวรวดเร็ว ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในการให้บริการขนส่งสินค้า

ประโยชน์ที่ได้รับ (Benefits)
การสร้างประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่คลังสินค้า (Optimize warehouse space)
สร้างความคล่องตัวให้กับการปฏิบัติงานและเพิ่มประสิทธิผล (Streamline operations and increase productivity)
ปรับปรุงบริการขนส่งให้ดีขึ้น (Improve logistics services)
กำหนดสิทธิในการอนุมัติรายการในระบบ
ได้รับประโยชน์จากความยืดหยุ่นและต้นทุนที่มีประสิทธิภาพเพื่อการเติบโต (Gain flexibility and cost effective for growth)

ความสามารถของระบบ
-      การจัดการคลังสินค้า (Warehouse Management)
-      สามารถเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกันระบบสั่งสินค้า
-      สามารถควบคุมและวิเคราะห์การปฏิบัติงานภายในคลังสินค้า
-      กำหนดเส้นทางภายในคลังสินค้า บันทึกข้อมูลพนักงานหยิบสินค้า ช่วงเวลาการทำงาน ความเร็วในการหยิบต่อรอบของเส้นทาง
-      วิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดวางสินค้าในชั้นของคลังสินค้า
-      การกำหนดบทบาทของพนักงานในคลังสินค้า ผุ้มีอำนาจอนุมัติและ ตัดสินใจ
-      บันทึกประวัติการทำงานต่าง ๆ ภายในคลังสินค้า การติดตามตัวสินค้า ล๊อตสินค้า ต้นทุนสินค้า การจัดการสินค้าส่งคืน






การควบคุมสินค้าคงคลัง ( Inventory Control)
-      สามารถตรวจสอบต้นทุนสินค้า มีสถานที่คลังสินค้าได้หลากหลาย (Multiple locations) มีคลังสินค้าได้หลากหลายในแต่ละสถานที่
-      การพิมพ์ป้ายเพื่อการตรวจนับสินค้า (Physical count tag printing)
-      การรับสินค้าคืนเข้าคลัง
-      การตรวจสภาพและทำความสะอาดสินค้าคืน (Test and clean)
-      การเตรียมสินค้าเข้าคลังสินค้า การรับสินค้าเข้าคลังบางส่วน
-      การโอนย้ายแยกคลังสินค้าเสียหายจากคลังปกติ




การจัดการการจัดส่ง (Delivery Management)
-      การจัดการเส้นทางส่งสินค้า
-      การจัดสินค้าตามเส้นทางส่งสินค้า การกำหนดเส้นทางส่งสินค้าตามภูมิศาสตร์
-      การบันทึกเส้นทางและวิเคราะห์เส้นทางล่วงหน้า
-      การบันทึกและควบคุมค่าใช้จ่ายในการส่งสินค้าต่อเที่ยวส่ง และต่อตัวสินค้า
-      การกำหนดสถานะการจัดส่ง และการบันทึกผลการจัดส่ง เอกสารรับกลับ ค่า ชำระสินค้าที่รับกลับ (Return Management)





ระบบมีความยืนหยุ่นที่จะสามารถปรับปรุงพัฒนาเพิ่มเติมไปสู่ความสามารถอื่นๆ ได้
เช่น
-      การจัดการรถส่งสินค้า
-      ผู้ขับรถ
-      ความจุของตัวรถส่งสินค้า
-      การจัดการตัวแทนจัดส่ง (Shipping agent management)
-      การกำหนดและเลือกเส้นทางที่สั้นที่สุดในการจัดส่ง
-      การกำหนดเส้นทางเลือกหลากหลายที่ไปยังปลายทางส่งสินค้า
-      ระบบการแนะนำเส้นทางที่คุ่มค่าที่สุดในการจัดส่ง
-      ระบบการลงทะเบียนตัวแทนจัดส่งสินค้า
-      การเชื่อมโยงกับอุปกรณ์เสริม เช่น Barcode scanner, RFID
-      การพัฒนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบอื่นในการส่งข้อมูลระหว่างองค์กรใดยใช้มาตรฐานต่าง ๆ เช่น EDI, XML เป็นต้น


The EC Order Fulfillment Process




1) มั่นใจว่าลูกค้าจะจ่ายเงิน
2) ตรวจสอบดูว่ามีของใน stock หรือไม่
3) ถ้ามีของ จัดเตรียมการส่งของ
4) ประกันความเสียหาย
5) กระตุ้นเพื่อเติมให้เต็ม
6) ทำการผลิต In-house
7) ใช้ Supplier
8) ติดต่อลูกค้า
9) รับของคืน (reverse logistics)

ปัญหาและทางแก้
1) Delays in transportation/shipments
2) Human errors in information sending
3) Misunderstandings of orders
4) Over-or-understocked inventories
5) Shipments to wrong places or wrong quantities
6) Late or wrong reporting on delivery
7) Slow or incorrect billing
8) Difficult product/part configuration
9) Inability of IT systems of two organizations to
talk to each other
10) High cost of expedites shipments



0 ความคิดเห็น:

Data Visualization

14:02:00 Thong Dee 0 Comments

 Data Visualization

คำพูดเป็นล้านคำ ไม่เท่ากับภาพๆเดียว”

คุณผู้อ่านเคยรู้สึกแบบนี้บ้างหรือเปล่า ช่วงเวลาที่มองดูรูปภาพสักรูปที่เกี่ยวกับวันสำคัญของคุณกับแฟน หรือ รูปที่คุณถ่ายเองซึ่งก็ไม่ได้มีคุณอยู่ในรูป  แต่รู้สึกดีทุกครั้งที่หยิบขึ้นมาดู
หากมองดูรอบตัวเราจะพบกับภาพเยอะแยะไปหมดที่ใช้แทนคำพูด เช่น ลูกศรชี้ทาง  ป้ายห้ามจอด สัญลักษณ์ reuse ข้างกล่องผลิตภัณฑ์  สิ่งเหล่านี้ไม่ได้มีข้อความใดๆอธิบายบอก แต่เราก็ทราบว่ามันหมายถึงอะไร
Data Visualization ก็เป็นสิ่งหนึ่งถูกนำมาใช้แสดงแทนคำพูด เป็นการใช้ภาพเพื่อแสดงข้อมูลในเชิงปริมาณที่วัดได้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข แผนภูมิ กราฟ และอื่น ๆ อีกมากมาย  คำว่า Data คือ ข้อมูล ส่วน Visualization คือ การมองเห็น เมื่อนำมารวมกันแล้วหมายถึง ข้อมูลที่มองเห็นได้ด้วยตานั่นเอง มาดูการอธิบายถึงส่วนผสมของแอลกอฮอล์กับเครื่องดื่มแต่ละชนิด ในรูปแบบตางรางธาตุ ด้านล่าง



มีการใช้สีเพื่อบอกชนิด ระบุตัวเลขเป็นเปอร์เซนต์เพื่อแสดงปริมาณแอลกอฮอล์  พร้อมรูปของเครื่องดื่มแต่ละชนิดที่มีสีสันสวยงามประกอบด้วย  ถ้าเราลองเขียนสิ่งที่รูปนี้อธิบายเป็นตัวหนังสือมันจะดูน่าเบื่อและทำให้รู้สึกเหมือนกำลังนั่งอ่านสือสอบกันเลยทีเดียว
ประโยชน์ของ Data Visualization ก็คือทำให้ข้อมูลในเชิงปริมาณดูน่าสนใจ เข้าใจง่าย เห็นภาพรวมได้ชัดเจน ง่ายต่อการจดจำ  และนิยมนำมาใช้ประกอบในการรายงาน การวิเคราะห์ สรุปผล อย่างแแพร่หลาย





ปัจจุบันมีเครื่องมือในการสร้าง Data Visualization แบบเก๋ๆอยู่เยอะแยะเต็มไปหมด แต่จะขอนำเสนอเครื่องมือยอดนิยม 20 ค่ายให้คุณผู้อ่านได้เลือกใช้กัน คือ iChartsFloatRaphaëlModest Maps, Leaflet, Timeline, Exhibit, WolframAlpha, Visual.ly, Visualize Free, Better World Flux, jQuery Visualize, jqPlot, Dipity, Many Eyes, D3.js, JavaScript InfoVis Toolkit, jpGraph,Highcharts และสุดท้าย Google Charts


0 ความคิดเห็น:

White hat hacker and Black hat hacker

13:56:00 Thong Dee 0 Comments

White hat hacker and Black hat hacker



Hacker แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ “แฮกเกอร์หมวกขาว” (white hat hacker) และอีกประเภทหนึ่ง คือแฮกเกอร์หมวกดำ” (black hat hacker) แต่ในที่นี้จะมีเพิ่มขึ้นมาอีก 2 ประเภท ที่กำลังมีมากในขณะนี้ คือ “กึ่งดีกึ่งร้าย” (Grey hat hacker) และ คือเงินเป็นพระเจ้า” (Yellow hat hacker)

White hat hacker
เป็น Hacker ที่ถูกว่าจ้างโดยบริษัทหรือหน่วยงานรัฐบาล เพื่อคอยค้นหาจุดอ่อนในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรนั้น ๆ แล้วแก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวให้หมดไป นั่นก็คือใช้ความรู้ของตนในทางที่ถูกที่ควร เช่น เมื่อเจาะระบบเข้าได้แล้วก็จะแจ้ง bug ไปยังเจ้าของ web site หรือว่าเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้น เพื่อหาทางแก้ไข bug นั้น คำศัพท์อีกคำหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือ ethical hacker ซึ่งหมายถึง Hackerที่เข้าไปเจาะระบบแล้วแก้ไข bug นั้นให้เลย คนพวกนี้นับว่าเป็นพวกปิดทองหลังพระจริง ๆ เพราะว่าไม่มีใครรู้อยู่แล้วว่าเขาเป็นใคร นอกจากพวกเดียวกัน
Black hat hacker
หรือ Hacker หมวกดำเป็น hacker ที่เจาะระบบอย่างผิดกฎหมายและสร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นในระบบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่ง hacker ในกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ที่ดูแลความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างยิ่ง จะเป็นพวกพรรคมาร คือใช้วิชาในทางที่ผิดเป็นวิชามาร แหล่งชุมนุมพวกนี้คือ web site ต่าง ๆ แล้ว web site ไม่ว่าจะเป็น virus script อันตรายๆ ad Aare spy ware โทรจัน software key logger link ที่ไปสู่software ผิดกฎหมาย รวมทั้ง web site ลามก(ซึ่งอันหลังบางทีไม่ต้องlink เราก็หาเองเลย )
Grey hat hacker
คือ กึ่งดีกึ่งร้าย คนพวกนี้จะเข้าไปตรวจพบช่องโหว่ของ web site บางแห่งแล้ว แทนที่จะบอกเจ้าของ web site แต่กลับไปโพสต์ไว้ตาม web site ต่าง ๆแล้วถ้าเจ้าของ web site พบช้ากว่า พวกหมวกดำ
Yellow hat hacker
คือ อีกกลุ่มหนึ่งที่ตอนนี้กำลังมีจำนวนมากก็คนพวกนี้จะเห็นเงินเป็นพระเจ้า คือไม่ว่าผู้ว่าจ้างต้องการอะไรถ้ามีเงินมาแลกเปลี่ยนก็จะทำหมด แม้กระทั่งมีคนมาขอซื้อวิธีการ hack พวกนี้ก็จะขายหมดเลย ที่ได้ชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่าคงเป็นพวกตื่นทอง เป็นอะไรเป็นทองไม่ได้ จะสนใจหมดทุกอย่าง


0 ความคิดเห็น:

Cracking

13:55:00 Thong Dee 0 Comments

Cracking
คือการเจาะระบบข้อมูลเหมือนกัน แต่มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลต้นฉบับโดยตรง ตัวอย่างก็คือเกมส์หรือโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Photoshop ที่มี cracker มือดีมากมายคอย crack ข้อมูลให้ใช้งานตัวโปรแกรมได้ แม้เราจะไม่ได้จ่ายเงินก็ตาม

Software cracking
(เรียกว่า "ทำลาย" ในปี 1980) เป็นการปรับเปลี่ยนของซอฟต์แวร์ที่จะลบหรือปิดใช้งานคุณลักษณะซึ่งถือว่าเป็นที่ไม่พึงประสงค์โดยบุคคลที่แตกซอฟต์แวร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งคัดลอกคุณลักษณะการป้องกัน (รวมถึงการป้องกันการจัดการของซอฟต์แวร์ที่หมายเลขฮาร์ดแวร์ ที่สำคัญการตรวจสอบวันที่และตรวจสอบแผ่นดิสก์) หรือซอฟต์แวร์ annoyances เช่นหน้าจอถากถางและแอดแวร์

แตกหมายถึงวิธีการในการบรรลุซอฟต์แวร์แตกเช่นหมายเลขที่ถูกขโมยหรือเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพการกระทำของการแตกว่า บางส่วนของเครื่องมือเหล่านี้จะเรียกว่า Keygen, แพทช์หรือรถตักดิน Keygen เป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือที่มักจะมีความสามารถในการสร้างใบอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายในชื่อของคุณเอง แพทช์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ปรับเปลี่ยนรหัสเครื่องของโปรแกรมอื่น นี้มีประโยชน์สำหรับข้าวเกรียบจะไม่รวมถึงการปฏิบัติการขนาดใหญ่ในการปล่อยเมื่อเพียงไม่กี่ไบต์ที่มีการเปลี่ยนแปลง รถตักดินปรับเปลี่ยนการไหลของการเริ่มต้นของโปรแกรมและไม่เอาการป้องกัน แต่หลีกเลี่ยงมัน ตัวอย่างที่รู้จักกันดีของรถตักดินเป็นผู้ฝึกสอนที่ใช้ในการโกงในการเล่นเกม แสงธรรมชี้ให้เห็นในไฟล์ .nfo ของพวกเขาว่าประเภทของรอยแตกเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตสำหรับฉากเถื่อนเกม releases.A nukewar ได้แสดงให้เห็นว่าการป้องกันอาจจะไม่เตะในจุดใดจุดหนึ่งมันจะแตกที่ถูกต้อง
การกระจายตัวของสำเนาแตกเป็นสิ่งผิดกฎหมายในประเทศส่วนใหญ่ มีการฟ้องร้องมากกว่าซอฟต์แวร์แตก มันอาจจะเป็นกฎหมายที่จะใช้ซอฟต์แวร์ที่แตกในบางสถานการณ์ ทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับวิศวกรรมย้อนกลับและการแตกร้าวซอฟต์แวร์มี แต่ตามกฎหมายและอยู่ในรูปแบบของโปรแกรม Crackme





0 ความคิดเห็น:

Hacking

13:54:00 Thong Dee 0 Comments

Hacking และ ศัพท์ภาษาอังกฤษว่าด้วยการโจรกรรมข้อมูล


ทุกคนคงเคยได้ยินข่าวว่าเว็บไซต์ชื่อดังของประเทศไทยอย่างกระทรวงศึกษาธิการโดนเจาะระบบโดยhacker มือดีทั้งหลาย แต่การจะแฮ็กข้อมูลเข้าไปได้นั้นตัว hacker ต้องมีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์เลยทีเดียว… ว่าแต่ hacker คือใครกันล่ะ?
hacker คือผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์อย่างสูงมาก จนสามารถรู้ว่าระบบมีจุดโหว่ตรงไหน และวิธีการที่จะเข้าถึงจุดโหว่นั้นได้
เรามาดูคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เหล่า hacker คุ้นเคยกันดีกว่าครับ
1. hacking (v.)
     hacking คือการกระทำของ hacker โดยมีเจตนาที่จะลอกเลียนหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลต้นฉบับ การ hacking จะไม่มีการสร้างความเสียหายกับข้อมูลตัวหลักครับ เพียงแต่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนั้นให้แสดงผลตามใจตนเท่านั้น
2. cracking (n.)
     cracking คือการเจาะระบบข้อมูลเหมือนกัน แต่มีเจตนาที่จะสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลต้นฉบับโดยตรง ตัวอย่างก็คือเกมส์หรือโปรแกรมยอดนิยมอย่าง Photoshop ที่มี cracker มือดีมากมายคอย crack ข้อมูลให้ใช้งานตัวโปรแกรมได้ แม้เราจะไม่ได้จ่ายเงินก็ตาม
ข้อแตกต่างระหว่าง hacker กับ cracker:
– hacker จะสนใจในระบบความปลอดภัยของข้อมูลเป็นพิเศษ และเจาะเข้าไปเพื่อค้นหาว่ามีจุดโหว่ที่ไหนบ้าง ไม่มีเจตนาที่จะทำลาย
– cracker คอยสร้างโปรแกรมเพื่อเจาะระบบข้อมูลไปทำลาย หรือก่อให้เกิดความเสียหาย
3. mod (abbr.)
     ย่อมาจาก modification เป็นโปรแกรมเสริมที่จะทำให้เราใช้งานโปรแกรมหลักได้ง่ายขึ้น หรือแปลว่า moderator ที่แปลว่าผู้ดูแลระบบข้อมูล ที่เราพบเห็นได้ตามเว็บบอร์ดทั่วไป (Administrator, Moderator)
4. spyware (n.)
     สปายแวร์คือโปรแกรมที่ hacker สร้างขึ้นมาเพื่อเข้าไปสอดแนมข้อมูลของคอมพิวเตอร์ และรายงานกลับมายังผู้สร้าง
5. virus (n.)
     เชื่อว่าทุกคนคงคุ้นเคยกับ virus เป็นอย่างดีครับ เพราะเจ้าตัวแสบนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้คอมฯเราเจ๊งอยู่บ่อย ๆ โดยมันจะเป็นตัวทำลายระบบ และสามารถส่งต่อให้กับผู้อื่นได้อีกด้วย
ส่วนคำนี้ขอแถมเพิ่ม เพราะเป็นการ hack เหมือนกัน
life hack (n.) – เครื่องมือหรือวิธีการลัดต่าง ๆที่จะทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น บางวิธีอาจอยู่ใกล้ตัวจนเราคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
ตัวอย่าง life hack



ภาพประกอบจาก: 9gag.com




0 ความคิดเห็น:

software piracy

13:52:00 Thong Dee 0 Comments

software piracy
ซอฟต์แวร์โจรสลัด (software piracy)   เป็นซอฟต์แวร์เถื่อนที่ถูกคัดลอกทำซ้ำโดยผิดกฎหมายซึ่งทำให้ ผู้ที่เป็น เจ้าของต้องสูญเสียรายได้จำนวนมาก



กฎหมายสากลที่มีชื่อว่า The Digital Millennium Copyright Act สร้างขึ้น เพื่อปกป้องเจ้าของผู้ผลิต ซอฟต์แวร์ใด ๆ ให้สามารถทำสำเนาข้อมูลได้ แต่ผู้อื่นไม่สามารถจะทำซ้ำ จำหน่าย หรือแจกจ่ายได้




การจัดตั้งดีอาร์เอ็ม (digital right management: DRM) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างเทคโนโลยีหลาย ๆ อย่าง ควบคุมการเข้าถึงสื่อและแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต



   
        ดีอาร์เอ็ม ทำงานโดย จำกัดประเภทอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลนั้น ๆ ถึงแม้ว่าบริษัทจะเห็นด้วย แต่ผู้ใช้บางคนก็รู้สึกว่าเขามีสิทธิจะทำอะไรกับสื่อที่เขาซื้อมา

การคัดลอกงาน (plagiarism) 
              การคัดลอกงาน (plagiarism) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผิดจริยธรรม โดยการคัดลอกผลงาน หรือความคิดของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง โดยปราศจากอ้างอิงแหล่งที่มา ตัวอย่างการคัดลอก คือ การตัด และวาง เนื้อหาบนเว็บไซต์ลงในรายงาน หรือบทความ การบันทึกและจับผู้ที่คัดลอกงาน อาจ ทำได้ โดยใช้ ซอฟต์แวร์ที่มีชื่อเรียกว่า เทอร์นิทิน (Turnitin) ซอฟต์แวร์นี้จะทำการตรวจสอบเนื้อหา ในบท ความเพื่อเปรียบเทียบ กับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงเนื้อหาในเว็บไซต์ว่ามีส่วนใดที่เหมือน กันเป็น จำนวนมากน้อยเพียงใด


0 ความคิดเห็น:

Phishing Pharming and other

13:51:00 Thong Dee 0 Comments

Phishing, Pharming และ อื่น ๆ 



 Phishing (ฟิชชิง) การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์ ตัวอย่างของการฟิชชิง เช่น การบอกแก่ผู้รับปลายทางว่าเป็นธนาคารหรือบริษัทที่น่าเชื่อถือ และแจ้งว่ามีสาเหตุทำให้คุณต้องเข้าสู่ระบบและใส่ข้อมูลที่สำคัญใหม่ โดยเว็บไซต์ที่ลิงก์ไปนั้น มักจะมีหน้าตาคล้ายคลึงกับเว็บที่กล่าวถึง
Pharming เป็นการที่ Hacker ได้เข้าไปโจมตี server ของเว็บ site ต่าง ๆ และทำการส่งคนเข้า web siteให้ไปที่ web site ปลอมแทน Pharming นั้นมักจะการทำโดยการเข้าไปเปลี่ยนhosts file ของเครื่องServerที่เป็นเหยื่อให้เปลี่ยนไปที่web site ปลอมหรือว่าจะใช้ exploit ส่งเข้าไปโดยใช้ช่องโหว่ของ DNS Server software เอง คำว่า Pharming มาจากคำว่า Phishing ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน โดยทั้งคู่นั้นก็จะมีจุดมุ่งหมายเหมือนกันคือการเข้าไปขโมยข้อมูลข่าวสารต่าง ๆไม่ว่าจะเป็นการขโมย user-password, การขโมยบัตรเครดิตเป็นต้น แต่ว่า Pharming นั้นจะแตกต่างจากPhishing ตรงที่ Pharmingนั้นจะเน้นการเข้าไปโจมตีธุรกิจใหญ่ๆยกตัวอย่าง เช่น Hosting ที่ทำ e-commerce หรือว่า web siteที่เกี่ยวกับonline banking เป็นต้น การโจมตีรูปแบบนี้เรียกได้ว่าเป็นการโจมตีชนิดที่เราสังเกตได้ยากมากเพราะว่าสิ่งที่ถูกโจมตีจริง ๆนั้นเป็นที่เครื่อง Server เองและเราจะถูกส่งที่ web site ปลอมที่มีลักษณะหน้าตาเหมือนกันทุกประการดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากมากที่จะตรวจจับกัน ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ก็จะคือการป้องกันตัวเอง โดยการไม่ประมาทเราจึงไม่ตกเป็นเหยื่อของ Pharming
Virus (ไวรัส) แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่น ๆในคอมพิวเตอร์ของคุณโดยการเพิ่มจำนวนตัวมันเองขึ้นมาเป็นจำนวนมาก ไวรัสต้องส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆได้ต้องอาศัยไฟล์พาหะ เวลาที่ส่ง E-mail โดยแนบเอกสาร หรือไฟล์ที่มีไวรัสไปด้วยการทำสำเนาไฟล์ที่ติดไวรัสไปไว้บนไฟล์เซิร์ฟเวอร์การแลกเปลี่ยนไฟล์โดยใช้แผ่นดิสก์เก็ต เมื่อผู้ใช้ทั่วไปรับไฟล์ หรือดิสก์มาใช้งาน
          Worm (หนอน) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาให้สามารถแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยอาศัยระบบเน็ตเวิร์ค (E-mail) ซึ่งการแพร่กระจายสามารถทำได้ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งจะแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายรุนแรงกว่าไวรัสมาก
          Trojan (ม้าโทรจัน) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆได้ ต้องอาศัยการหลอกคนใช้ให้ดาวโหลดเอาไปใส่เครื่องเองหรือด้วยวิธีอื่น ๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ และโทรจันยังมีอีกหลายชนิด
          Spyware (สปายแวร์) แต่ไม่ได้มีความหมายลึกลับเหมือนอย่างชื่อ แต่กลับถูกใช้สำหรับการโฆษณาประชาสัมพันธ์เสียมากกว่า ในอันที่จริง สปายแวร์จะได้รับความรู้จักในชื่อของ แอดแวร์ ด้วย ดังนั้นคำว่าสปายแวร์จึงเป็นเพียงการระบุประเภทของซอฟต์แวร์เท่านั้น ส่วนความหมายที่แท้จริง สปายแวร์ หมายถึงโปรแกรมที่แอบเข้ามาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่ผู้ใช้อาจไม่ได้เจตนา
          Malware เป็น software ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้แทรกซึมหรือเข้าไปทำลายระบบ computer โดยผู้สร้างนั้นเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในด้าน Software ได้ทำการสร้างและปล่อยออกมา คำว่า malware มาจากคำว่า "malicious" และ "software" ซึ่งคำว่า Malicious นั้นหมายถึงมุ่งร้าย และ softwareก็หมายถึงโปรแกรม computer รวมๆกันแล้วก็ได้ความหมายว่า softwareที่มีความประสงค์ร้ายต่อ computer ของเรา เป็นคำที่ใช้เรียกรวมๆของพวก virus, spywareต่าง ๆ โดยทั่วไปผู้ใช้ส่วนใหญ่ยังคงไม่คุ้นเคยกับมันและคนจำนวนมากยังไม่เคยรู้จักกับคำ ๆนี้(Malware) คำว่าVirus computer นั้นได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั้งในสื่อมวลชน การพูดแบบทั่ว ๆไปถึงแม้ว่าทั้งหมดของ malwareจะไม่ใช่ virus แต่มันประกอบไปด้วย Virus computer, worms, Trojan horses, rootkits, spyware, dishonest adware และ software ที่ไม่ประสงค์ดีทั้งหลาย Malware ไม่ควรเป็นที่สับสนกับ bug ของโปรแกรมเพราะว่า bug ของโปรแกรมนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่เจตนาของโปรแกรมจึงไม่ผิดกฎหมาย
          Polymorphic Viruses (โพลีมอร์ฟิกไวรัส) เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
          Stealth Viruses(สทิลต์ไวรัส) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น
          Hybrid malware/Blended Threats คือ malware ที่รวมความสามารถของ virus, worm, trojan, spyware เข้าไว้ด้วยกัน
          Zombie Network เครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ๆ จากทั่วโลกที่ตกเป็นเหยื่อของ worm, trojan และ malware อย่างอื่น (compromised machine) ซึ่งจะถูกattacker/hacker ใช้เป็นฐานปฏิบัติการในการส่ง spam mail, phishing, DoS หรือเอาไว้เก็บไฟล์หรือซอฟต์แวร์ที่ผิดกฎหมาย


0 ความคิดเห็น:

Six Sigma

13:50:00 Thong Dee 0 Comments

Six Sigma

Six sigma เป็นการบริหารที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2533 โดยกลุ่มวิศวกรของบริษัท Motorola ภายใต้การนำของ Dr.Mikel Harry ซึ่งได้เป็นผู้ริเริ่มแนวคิดนี้ และนำมาใช้กับการออกแบบผลิตภัณฑ์ของบริษัทจนประสบความสำเร็จอย่างสูง ต่อมาบริษัทต่าง ๆ ในสหรัฐอเมริกาจึงได้นำแนวคิดการบริหารจัดการแบบ Six sigma เข้ามาใช้ และประสบความสำเร็จสามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัทได้อย่างมาก


Six sigma เป็นการบริหารที่มุ่งเน้นในการลดความผิดพลาด ลดความสูญเปล่า และลดการแก้ไขตัวชิ้นงาน และสอนให้พนักงานรู้แนวทางในการทำธุรกิจอย่างมีหลักการ และจะไม่พยายามจัดการกับปัญหาแต่จะพยายามกำจัดปัญหาทิ้ง Six sigma จะดีที่สุดเมื่อทุกคนในองค์การร่วมมือกันตั้งแต่ CEO ไปจนถึงบุคลากรทั่วไปในองค์การ ซึ่ง Six sigma เป็นการรวมกันระหว่างอานุภาพแห่งคน (Power of people) และอานุภาพแห่งกระบวนการ (Process Power) ซึ่งถ้าตัว Six sigma มีค่าสูงหรือมีความผันแปรมากขึ้นเท่าไร ก็เปรียบเสมือนมีการทำข้อผิดพลาดมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดตัวนี้เรียกว่า DPMO (Defects Per Million Opportunities)
Six sigma จึงถูกนำมาใช้เป็นชื่อเรียกของวิธีการปรับปรุงประสิทธิภาพในขบวนการใด ๆ โดยมุ่งเน้นการลดความไม่แน่นอน หรือ Variation และการปรับปรุงขีดความสามารถในการทำงานให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เพื่อนำมาซึ่งความพอใจของลูกค้า และผลที่ได้รับสามารถวัดเป็นจำนวนเงินได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มรายได้ หรือลดรายจ่ายก็ตาม

แนวคิดพื้นฐานของ Six sigma
การพัฒนาองค์การแบบ six sigma เป็นการพัฒนาที่มุ่งเน้นความเป็นเลิศ ซึ่งได้มีการกำหนดแนวทางในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการสื่อสาร การสร้างกลยุทธ์ และนโยบาย การกระจายนโยบาย การจูงใจ และการจัดสรรทรัพยากรในองค์การให้เหมาะสม เพื่อให้การปรับปรุงองค์การเป็นไปอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานที่มีความสามารถ มีความตั้งใจที่จะปรับปรุง ต้องได้รับความรู้ที่เพียงพอต่อการปรับปรุง รวมทั้งมีทีมที่มีความสามารถและมีความตั้งใจที่จะปรับปรุง มีทีมที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูงคอยให้ความช่วยเหลือสนับสนุน เพื่อให้ความผิดพลาดในการผลิตและการบริการมีน้อยที่สุด แนวความคิดการบริหารปรับปรุงองค์การแบบ six sigma มีความแตกต่างจากแนวความคิดในการบริหารแบบเดิม ที่เน้นการปรับปรุงการทำงานโดยเริ่มจากผู้บริหาร แล้วจึงกระจายให้หน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การปรับปรุง โดยขาดระบบการให้คำปรึกษาแนะนำและการช่วยเหลือที่เหมาะสม


 แนวคิดแบบ six sigma
เน้นให้พนักงานแต่ละคนสร้างผลงานขึ้นมาโดย
1. การตั้งทีมที่ปรึกษา (Counselling groups) เพื่อให้คำแนะนำพนักงานในการกำหนดแผนปรับปรุงการทำงาน
2. การให้ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการปรับปรุง (Providing resource)
3. การสนับสนุนแนวความคิดใหม่ ๆ (Encouraging Ideas) เพื่อให้โอกาสพนักงานในการเสนอแนะความคิดเห็นใหม่ๆ
4. การเน้นให้พนักงานสามารถคิดได้ด้วยตัวเอง (Thinking) เพื่อให้พนักงานสามารถกำหนดหัวข้อการปรับปรุงขึ้นเอง ภายใต้ข้อกำหนดของผู้บริหารองค์การ

แนวคิดการบริหารองค์การแบบเดิม
1.ใช้การแก้ปัญหาแบบวันต่อวัน ทักษะในการเรียนรู้ของพนักงานจะเน้นที่การเรียนรู้จาการทำงานจริงเป็นหลัก โดยมีความเชื่อว่าถ้ามีคนเข้าไปดูปัญหาอย่างจริงจังจะสามารถแก้ปัญหาได้ ซึ่งบางครั้งการแก้ปัญหาไม่ได้มาจากการแก้ไขที่สาเหตุแต่ก็สามารถแก้ไขปัญหาได้
2.ผลของการแก้ไขปัญหาจะต้องหายขาด
3.คัดเลือกพนักงานที่ทำงานประจำมาทำการแก้ไขปัญหา โดยแก้ไขเฉพาะหน่วยงานของตนเอง ถ้าปัญหาเกิดจากหน่วยงานอื่นก็จะขอร้องให้หน่วยงานนั้น ๆ ทำการแก้ไข
4.ผู้นำคือผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันได้
5.ใช้ประสบการณ์และความชำนาญเป็นหลักในการปรับปรุง เพราะเห็นผลสำเร็จได้ง่าย
6.ความรับผิดชอบเป็นหน้าที่ของพนักงานแต่ละคนต้องปฏิบัติ

แนวคิดการบริหารแบบ six sigma
1. เน้นสร้างทักษะและการเรียนรู้ให้แก่พนักงานอย่างเป็นระบบ และเข้มงวด รู้ปัญหาและกำหนดเป็นโครงการปรับปรุงทั้งระยะสั้นและระยะยาว
2. วัดที่ผลการปรับปรุงเป็นหลัก
3. ใช้ทีมงานที่มีผลประเมินการทำงานดี หรือ ดีเยี่ยม มาทำการปรับปรุงและตัดสินใจให้คนเก่งมีเวลาถึง 100 % เพื่อแก้ปัญหาให้กับองค์การ
4.สร้างผู้นำโครงการให้เกิดขึ้นในอนาคต
5.ใช้ข้อมูลเป็นตัวตัดสินใจเท่านั้น
6.เน้นความรับผิดชอบในการทำโครงการ
7.การให้คำมั่นสัญญามาจากผู้บริหาร


หลักการสำคัญของกลยุทธ์ Six sigma
การบรรลุกลยุทธ์ที่สำคัญของ six sigma ซึ่งเกี่ยวข้องกับขั้นตอน 5 ขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วย Define - Measure – Analyze – Improve – Control
1. Define คือ ขั้นตอนการระบุและคัดเลือกหัวข้อเพื่อการดำเนินการตามโครงการ
Six Sigma ในองค์กร โดยมีขั้นตอนการคัดเลือกโครงการ ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 โครงการนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (Business Goal)
ขั้นตอนที่ 2 มอบหมายให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เสนอโครงการไปพิจารณาหากลยุทธ์ (Strategy) ในการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายหลักขององค์กร (ตามขั้นตอนที่ 1)
ขั้นตอนที่ 3 แต่ละฝ่ายนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินการให้ผู้บริหารทราบ และเมื่อผู้บริหารเห็นชอบแล้ว ให้กลับไปกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินงาน (High Potential Area)
ขั้นตอนที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการได้แล้ว ให้แต่ละฝ่ายกลับไปพิจารณาหัวข้อย่อยที่จะใช้ในการดำเนินการ
2. Measure เป็นขั้นตอนการวัดความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน ขั้นตอนการวัดจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอน Plan Project with Metric คือ การวางแผนและดำเนินการคัดเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสมในการดำเนินการโครงการ
ขั้นตอน Baseline Project คือการวัดค่าความสามารถของกระบวนการที่เป็นจริงในปัจจุบัน โดยวัดผ่านตัวชี้วัดต่าง ๆ ที่เลือกสรรมาจากขั้นตอน Plan Project with Metric
ขั้นตอน Consider Lean Tools คือ วิธีการปรับปรุงกระบวนการด้วยการใช้เทคนิคต่าง ๆ ของวิศวกรรม  อุตสาหการ
ขั้นตอน Measurement System Analysis (MSA) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากเป็นขั้นตอนการตรวจสอบเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการทำงานว่ามีความปกติหรือไม่ก่อนจะลงมือปฏิบัติงาน
ขั้นตอน Organization Experience หมายถึง ขั้นการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาขององค์กร จะช่วยคิดในการแก้ไขปัญหา
3. Analyze ขั้นตอนนี้คือการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหลัก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ในเชิงสถิติเพื่อระบุสาเหตุหลักที่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหานั้น ซึ่งเรียกสาเหตุหลักนี้ว่า KPIV (Key Process Input Variable) ซึ่งต้องสามารถระบุให้ชัดเจนว่า อะไรคือ KPIV ของปัญหาและต้องสามารถเชื่อมโยงกับ ตัวหลักของกระบวนการ หรือที่เรียกว่า KPOV (Key Process Output Variable) ให้ได้ หลักการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ การตรวจสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) ผังการกระจาย (Scattering Diagram) การวิเคราะห์การถดถอย (Regression Analysis) เป็นต้น
4. Improvement ขั้นตอนนี้คือการปรับตั้งค่าสาเหตุหลัก (KPIV) โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผลลัพธ์ของกระบวนการเป็นไปตามต้องการ ด้วยการใช้เทคนิคการออกแบบทดลอง (Design of Experiment : DOE) เพื่อปรับตั้งค่าสภาวะต่าง ๆของกระบวนการให้เป็นไปตามความต้องการ
5. Control ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งต้องดำเนินการออกแบบระบบควบคุณคุณภาพของกระบวนการเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ากระบวนการจะย้อนไปมีปัญหาเหมือนเดิมอีก DMAIC เป็นวิธีการพื้นฐานในกระบวนการ อาจให้คำจำกัดความสั้นๆ ได้ว่า Define: ต้องไม่มีการยอมรับความผิดพลาด Measure: กระบวนการภายนอกที่หาจุดวิกฤตเชิงคุณภาพ                                                             Analysis : ทำไมความผิดพลาดจึงเกิดขึ้น                                                                                                  Improve : การลดความผิดพลาดที่เกิดขึ้น                                                                                                  Control : ต้องควบคุมให้เป็นไปตามเป้าหมาย



องค์ประกอบสำคัญที่มีบทบาทต่อ six sigma
โครงสร้างและหน้าที่รับผิดชอบ ของ Six sigma ประกอบด้วย
1.Champion เป็นชื่อเรียกผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุดต่อผลสำเร็จในงาน หรือผู้บริหารระดับสูง (Executive-Level Management) สนับสนุนให้เป้ามายของงานสำคัญประสบความสำเร็จ รณรงค์และผลักดันให้เกิดองค์การ six sigma และเกิดกระบวนการปรับปรุงองค์การอย่างต่อเนื่อง ขจัดอุปสรรค ให้รางวัลหรือค่าตอบแทน ตอบปัญหา อนุมัติโครงการ กำหนดวิสัยทัศน์โครงการ สนับสนุนทรัพยากรในด้านบุคลากร งบประมาณ เวลา สถานที่ กำลังใจ และความชัดเจนในหน้าที่ ผลักดันให้มีจำนวน Black Belt และ Green Belt ที่เหมาะสมในองค์การ มีหน้าที่ติดตามความก้าวหน้าของโครงการปรับปรุง ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์การ ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมในการปรับปรุงให้เกิดขึ้นในองค์การ โดยอาศัยการสื่อสาร การตั้งคำถามเพื่อย้ำให้เกิดแนวความคิดแบบ six sigma มีการชมเชยและการให้ประกาศนียบัตรแก่พนักงานในองค์การ มีการคัดเลือกโครงการปรับปรุงที่ดีเยี่ยมและการให้รางวัลเมื่อพนักงานปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
2. Six sigma Director มีหน้าที่นำและบริหารองค์การให้สำเร็จบรรลุแนวทาง six sigma ภายในหน่วยงานทางธุรกิจตนเอง เป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติและนโยบายการดำเนินงานของ six sigma สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ที่สำคัญในการกระจายนโยบายให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
3. Master Black Belt คือ ผู้ชำนาญการด้านเทคนิค และเครื่องมือสถิติ เป็นผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการทำงานเป็นอย่างดี และสามารถถ่ายทอดและให้การอบรมเพื่อสร้างทีม Black Belt และ Green Belt ตลอดการปรับปรุงได้ เป็นผู้ช่วยเลือกโครงการปรับปรุงให้แก่ Champion และเป็นผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการคัดเลือกโครงการปรับปรุง โดยมองในภาพรวมใหญ่ขององค์การ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการเสนอโครงการปรับปรุงที่เชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงานต่าง เป็นต้น
4. Black belt คือ ผู้บริหารโครงการ (Project Manager) และผู้ประสานงาน (Facilitator )ได้รับการรับรองว่าเป็นสายดำชั้นครู Black belt เป็นการบ่งบอกถึงระดับความสามารถสูงสุดของนักกีฬายูโด จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการ บริหารลูกทีมที่มีลักษณะข้ามสายงาน ซึ่งในการบริหาร six sigma จะประกอบไปด้วยการทำโครงการย่อยที่คัดเลือกจากปัญหาที่มีอยู่ในกระบวนการต่าง ๆ ขององค์การ กระจายกลยุทธ์และนโยบายของบริษัทไปยังระดับปฏิบัติการ ผลักดันความคิดของ Champion ให้เกิดขึ้นและให้ความช่วยเหลือ Master Black Belt six sigma Director และ Champion นอกจากนี้ยังเป็นผู้ค้นหาปัญหาและอุปสรรคที่อยู่ในองค์การ และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความจำเป็นในการทำให้องค์การบรรลุความพึงพอใจของลูกค้า เป็นผู้บริหารโครงการในแต่ละขั้นตอนตามแนวทาง six sigma ประกอบด้วย กระบวนการวัด การวิเคราะห์ การปรับปรุง และการควบคุม โดยให้เกิดการกระจายผลการปรับปรุงไปสู่การปฏิบัติ รายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ผู้บริหารระดับสูงทราบ Black Belt จะต้องทำหน้าที่ในการโน้มน้าวทีมงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คัดเลือกเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงได้อย่างเหมาะสม เก็บรวบรวมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโครงการปรับปรุงจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์การ ทั้งจากพนักงานจนถึงระดับผู้จัดการ สร้างความมั่นใจว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการปรับปรุงสามารถคงอยู่ได้ตลอดไป
Black Belt ต้องได้รับการฝึกอบรมเพื่อให้มีความรู้ทีสำคัญในการปรับปรุงการทำงาน ซึ่งความรู้หลัก ๆ ของ Black Belt เพื่อการทำโครงการปรับปรุงที่จะได้รับประกอบด้วย
4.1 ความรู้ทางสถิติ
4.2 ความรู้ทางด้านการบริหารโครงการ
4.3 ความรู้ทางด้านการสื่อสารและการเป็นผู้นำโครงการ
4.4 ความรู้เพื่อการปรับปรุงคุณภาพอื่น ๆ
5. Green belt คือพนักงานที่ทำหน้าที่โครงการ เป็นผู้ที่รับการรับรองว่ามีความสามารถเทียบเท่านักกีฬายูโดในระดับสายเขียว ซึ่งในการบริหาร six sigma นั้น ผู้ที่ทำหน้าที่เป็น Green belt จะเป็นผู้ช่วยของ Black belt ในการทำงาน ทำหน้าที่ในการปรับปรุงโดยใช้เวลาส่วนหนึ่งของการทำงานปกติ นำวิธีการปรับปรุงตามแนวทาง six sigma ไปใช้ในโครงการได้ สามารถนำเอาแนวความคิดและวิธีการปรับปรุงไปขยายผลต่อในหน่วยงานของตนเองได้
6. Team Member ในโครงการทุกโครงการจะต้องมีสมาชิกทำงาน 4-6 คน โดยเป็นตัวแทนของคนที่ทำงานในกระบวนการที่อยู่ในขอบข่ายของโครงการ
ส่วนสำคัญที่สุดในการทำ Six sigma คือ โปรเจ็ก แชมเปี้ยน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการดูแลให้การสนับสนุน และจัดหางบประมาณที่เพียงพอให้แต่ละ Six sigma และยังคอยสนับสนุน แบล็กเบลต์

ประโยชน์ในการนำ Six Sigma มาใช้ในองค์การ
1. สามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างกลยุทธ์ใหม่ให้ธุรกิจ
2. สามารถลดความสูญเสียโอกาสอย่างมีระบบและรวดเร็วโดยการนำกระบวนการทางสถิติมาใช้
3. พัฒนาบุคลากรในองค์การให้มีศักยภาพสูงขึ้นตอบสนองต่อกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว และปรับองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
4. ช่วยหารระดับคุณภาพของอุตสาหกรรม โดยสามารถเทียบข้ากลุ่มอุตสาหกรรมได้ (Benchmarking)

0 ความคิดเห็น: