SPSS

18:19:00 Thong Dee 0 Comments


  โปรแกรม Spss คืออะไร  
           โปรแกรม SPSS (Statistical Package for the Social Science for Windows) เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพสูง ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติประเภทต่าง ๆ และแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลออกมาในรูปของตาราง หรือแผนภูมิชนิดต่าง ๆ ได้ทั้งแบบ ๒ มิติ และ ๓ มิติ การใช้งานโปรแกรมไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว แต่ก็ยังมีคนอยู่จำนวนไม่น้อยที่ยังมีแนวคิดที่ว่า การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS เป็นเรื่องที่ยากและต้องใช้ความรู้ทางสถิติเป็นอย่างดีบ้าง โอกาสในการนำไปใช้ในการปฏิบัติงานค่อนข้างน้อยบ้าง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวข้างต้น เนื่องจากการใช้โปรแกรม SPSS ไม่จำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางสถิติเป็นอย่างดีเสมอไป แต่ขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเบื้องต้น เช่น ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วการใช้งานโปรแกรม SPSS มักจะเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย แต่ก็ไม่เสมอไป กล่าวคือ SPSS สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี เช่น การทำบัญชีและคำนวณรายรับรายจ่ายในครอบครัว ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรในหน่วยงาน วิเคราะห์ทัศนคติ และความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นอกจากนี้ SPSS ยังสามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร หรือบุคคลในระดับอื่น ๆ อยู่ที่ว่าจะรู้จักประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพดังกล่าวนั้นอย่างไร

  หลักการใช้ Spss เบื้องต้น  
ลักษณะของผลงาน
         เป็นองค์ความรู้ เทคนิค และเคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS for Window สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ที่มาจากประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม SPSS ของผู้เขียน โดยเขียนอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจและมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับขั้นตอนในการทำวิจัย เคล็ดลับในการใช้โปรแกรม SPSS อย่างมีประสิทธิภาพทุกขั้นตอน ได้แก่
1.ขั้นการเตรียมข้อมูล (Data Preparation) เป็นการกล่าวถึงขั้นตอน/ เทคนิควิธีการต่าง ๆ ดังนี้
เทคนิคการเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)
เทคนิคการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล (Editing) จากแบบสอบถาม
เทคนิคการกำหนดรหัสข้อมูล (Coding) จากแบบสอบถามเพื่อป้อนข้อมูลลงในโปรแกรม
เทคนิคการกำหนดคุณลักษณะของตัวแปร อันได้แก่ ประเภท ความกว้าง ทศนิยม คำอธิบายชื่อตัวแปร การกำหนดค่าตัวแปร ค่าความสูญเสียของข้อมูล การจัดตำแหน่งข้อมูล และการกำหนดระดับการวัดของตัวแปรนั้น ๆ
เทคนิคการรวมไฟล์ (Merge Files) ในกรณีที่มีแบบสอบถามจำนวนมาก ๆ และแบ่งกันป้อนข้อมูลหลายคน
เทคนิคการทำความสะอาดข้อมูล (Clean Data) หรือตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลภายหลังป้อนข้อมูลลงในโปรแกรมเสร็จแล้ว โดยใช้คำสั่ง Sort Cases และคำสั่ง Frequencies
2.ขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data) เป็นการกล่าวถึงเทคนิคการใช้คำสั่งในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังต่อไปนี้
เทคนิคการใช้คำสั่ง Recode (การกำหนดค่าให้กับตัวแปรใหม่ทั้งที่ทับกับข้อมูลเดิม และไม่ทับกับข้อมูลเดิม หรือสร้างเป็นตัวแปรใหม่)
เทคนิคการใช้คำสั่ง Frequencies ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการใช้คำสั่ง Descriptive ในการวิเคราะห์ข้อมูล
เทคนิคการวิเคราะห์สำหรับการนำเสนอข้อมูลเป็นรายด้าน และภาพรวม
เทคนิคการกำหนดจำนวนหลักของจุดทศนิยมในตารางผลการวิเคราะห์ข้อมูล (Print Out)
3.ขั้นการนำเสนอข้อมูล (Data Presentation) เป็นการกล่าวถึง ขั้นตอนการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง
เทคนิคการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนภูมิชนิดต่าง ๆ

อ้างอิงจาก
 น.ต.หญิง จุฬาวลัย สุระอารีย์
 ร.ต.สันติ งามเสริฐ

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น: